เทคโนโลยีเครือข่าย

ความหมายเครือข่าย


เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (อังกฤษ: computer network; ศัพท์บัญญัติว่า ข่ายงานคอมพิวเตอร์) คือเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในเครือข่าย (โหนดเครือข่าย) จะใช้สื่อที่เป็นสายเคเบิลหรือสื่อไร้สาย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันดีคือ อินเทอร์เน็ต
การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง
การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล, หน่วยความจำ, หน่วยจัดเก็บข้อมูล, โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้
อุปกรณ์เครือข่ายที่สร้างข้อมูล, ส่งมาตามเส้นทางและบรรจบข้อมูลจะเรียกว่าโหนดเครือข่าย. โหนดประกอบด้วยโฮสต์เช่นเซิร์ฟเวอร์, คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่าย อุปกรณ์สองตัวจะกล่าวว่าเป็นเครือข่ายได้ก็ต่อเมื่อกระบวนการในเครื่องหนึ่งสามารถที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกับกระบวนการในอีกอุปกรณ์หนึ่งได้
เครือข่ายจะสนับสนุนแอปพลิเคชันเช่นการเข้าถึงเวิลด์ไวด์เว็บ, การใช้งานร่วมกันของแอปพลิเคชัน, การใช้เซิร์ฟเวอร์สำหรับเก็บข้อมูลร่วมกัน, การใช้เครื่องพิมพ์และเครื่องแฟ็กซ์ร่วมกันและการใช้อีเมลและโปรแกรมส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีร่วมกัน

การเชื่อมโยงเครือข่าย

  สื่อกลางการสื่อสารที่ใช้ในการเชื่อมโยงอุปกรณ์เพื่อสร้างเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยสายเคเบิลไฟฟ้า (HomePNA, สายไฟฟ้าสื่อสาร, G.hn), ใยแก้วนำแสง และคลื่นวิทยุ (เครือข่ายไร้สาย) ในโมเดล OSI สื่อเหล่านี้จะถูกกำหนดให้อยู่ในเลเยอร์ที่ 1 และที่ 2 หรือชั้นกายภาพและชั้นเชื่อมโยงข้อมูล
ครอบครัวของสื่อการสื่อสารที่ถูกพัฒนาอย่างกว้างขวางและถูกนำมาใช้ในเทคโนโลยีเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) เรียกว่า อีเธอร์เน็ต มาตรฐานของสื่อกลางและของโพรโทคอลที่ช่วยในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ในเครือข่ายอีเธอร์เน็ตถูกกำหนดโดยมาตรฐาน IEEE 802. อีเธอร์เน็ตในโลกไซเบอร์มีทั้งเทคโนโลยีของ LAN แบบใช้สายและแบบไร้สาย อุปกรณ์ของ LAN แบบใช้สายจะส่งสัญญาณผ่านสื่อกลางที่เป็นสายเคเบิล อุปกรณ์ LAN ไร้สายใช้คลื่นวิทยุหรือสัญญาณอินฟราเรดเป็นสื่อกลางในการส่งผ่านสํญญาณ

เทคโนโลยีแบบใช้สาย


เทคโนโลยีแบบใช้สายต่อไปนี้เรียงลำดับตามความเร็วจากช้าไปเร็วอย่างหยาบๆ
   รูปแสดงสาย UTP
สายคู่บิดเป็นสื่อที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดสำหรับการสื่อสารโทรคมนาคมทั้งหมด สายคู่บิดประกอบด้วยกลุ่มของสายทองแดงหุ้มฉนวนที่มีการบิดเป็นคู่ๆ สายโทรศัพท์ธรรมดาที่ใช้ภายในบ้านทั่วไปประกอบด้วยสายทองแดงหุ้มฉนวนเพียงสองสายบิดเป็นคู่ สายเคเบิลเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (แบบใช้สายอีเธอร์เน็ตตามที่กำหนดโดยมาตรฐาน IEEE 802.3) จะเป็นสายคู่บิดจำนวน 4 คู่สายทองแดงที่สามารถใช้สำหรับการส่งทั้งเสียงและข้อมูล การใช้สายไฟสองเส้นบิดเป็นเกลียวจะช่วยลด crosstalk และการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าระหว่างสายภายในเคเบิลชุดเดียวกัน ความเร็วในการส่งอยู่ในช่วง 2 ล้านบิตต่อวินาทีถึง 10 พันล้านบิตต่อวินาที สายคู่บิดมาในสองรูปแบบคือคู่บิดไม่มีต้วนำป้องกัน(การรบกวนจากการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าภายนอก) (unshielded twisted pair หรือ UTP) และคู่บิดมีตัวนำป้องกัน (shielded twisted pair หรือ STP) แต่ละรูปแบบออกแบบมาหลายอัตราความเร็วในการใช้งานในสถานการณ์ต่างกัน
   รูปแสดง STP
จะเห็น sheath ที่เป็นตัวนำป้องกันอยู่รอบนอก
สายโคแอคเชียลถูกใช้อย่างแพร่หลายสำหรับระบบเคเบิลทีวี, ในอาคารสำนักงานและสถานที่ทำงานอื่นๆ ในเครือข่ายท้องถิ่น สายโคแอคประกอบด้วยลวดทองแดงหรืออะลูมิเนียมเส้นเดี่ยวที่ล้อมรอบด้วยชั้นฉนวน (โดยปกติจะเป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่นกับไดอิเล็กทริกคงที่สูง) และล้อมรอบทั้งหมดด้วยตัวนำอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าจากภายนอก ฉนวนไดอิเล็กทริกจะช่วยลดสัญญาณรบกวนและความผิดเพี้ยน ความเร็วในการส่งข้อมูลอยู่ในช่วง 200 ล้านบิตต่อวินาทีจนถึงมากกว่า 500 ล้านบิตต่อวินาที
   รูปแสดงสายโคแอคเชียล
'ITU-T G.hn เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สายไฟที่มีอยู่ในบ้าน (สายโคแอค, สายโทรศัพท์และสายไฟฟ้า) เพื่อสร้างเครือข่ายท้องถิ่นความเร็วสูง (ถึง 1 Gb/s)
ใยแก้วนำแสง เป็นแก้วไฟเบอร์ จะใช้พัลส์ของแสงในการส่งข้อมูล ข้อดีบางประการของเส้นใยแสงที่เหนือกว่าสายโลหะก็คือมีการสูญเสียในการส่งน้อยและมีอิสรภาพจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและมีความเร็วในการส่งรวดเร็วมากถึงล้านล้านบิตต่อวินาที เราสามารถใช้ความยาวคลื่นที่แตกต่างของแสงที่จะเพิ่มจำนวนของข้อความที่ถูกส่งผ่านสายเคเบิลใยแก้วนำแสงพร้อมกันในเส้นเดียวกัน

เทคโนโลยีไร้สาย

ไมโครเวฟบนผิวโลก - การสื่อสารไมโครเวฟบนผิวโลกจะใช้เครื่องส่งและเครื่องรับสัญญาณจากสถานีบนผิวโลกที่มีลักษณะคล้ายจานดาวเทียม ไมโครเวฟภาคพื้นดินอยู่ในช่วงกิกะเฮิรตซ์ที่ต่ำ ซึ่งจำกัดการสื่อสารทั้งหมดด้วยเส้นสายตาเท่านั้น สถานีทวนสัญญาณมีระยะห่างประมาณ 48 กิโลเมตร (30 ไมล์)

ดาวเทียมสื่อสาร - การสื่อสารดาวเทียมผ่านทางคลื่นวิทยุไมโครเวฟที่ไม่ได้เบี่ยงเบนโดยชั้นบรรยากาศของโลก ดาวเทียมจะถูกส่งไปประจำการในอวกาศ ที่มักจะอยู่ในวงโคจร geosynchronous ที่ 35,400 กิโลเมตร (22,000 ไมล์) เหนือเส้นศูนย์สูตร ระบบการโคจรของโลกนี้มีความสามารถในการรับและถ่ายทอดสัญญาณเสียง, ข้อมูลและทีวี

ระบบเซลลูลาร์และ PCS ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารวิทยุหลายเทคโนโลยี ระบบแบ่งภูมิภาคที่ครอบคลุมออกเป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์หลายพื้นที่ แต่ละพื้นที่มีเครื่องส่งหรืออุปกรณ์เสาอากาศถ่ายทอดสัญญาณวิทยุพลังงานต่ำเพื่อถ่ายทอดสัญญาณเรียกจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่งข้างหน้า

เทคโนโลยีวิทยุและการแพร่กระจายสเปกตรัม - เครือข่ายท้องถิ่นไร้สายจะใช้เทคโนโลยีวิทยุความถี่สูงคล้ายกับโทรศัพท์มือถือดิจิทัลและเทคโนโลยีวิทยุความถี่ต่ำ. LAN ไร้สายใช้เทคโนโลยีการแพร่กระจายคลื่นความถี่เพื่อการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์หลายชนิดในพื้นที่จำกัด. IEEE 802.11 กำหนดคุณสมบัติทั่วไปของเทคโนโลยีคลื่นวิทยุไร้สายมาตรฐานเปิดที่รู้จักกันคือ Wifi

การสื่อสารอินฟราเรด สามารถส่งสัญญาณระยะทางสั้นๆมักไม่เกิน 10 เมตร ในหลายกรณีส่วนใหญ่ การส่งแสงจะใช้แบบเส้นสายตา ซึ่งจำกัดตำแหน่งการติดตั้งของอุปกรณ์การสื่อสาร

เครือข่ายทั่วโลก (global area network หรือ GAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้สำหรับการสนับสนุนการใช้งานมือถือข้ามหลายๆ LAN ไร้สาย หรือในพื้นที่ที่ดาวเทียมครอบคลุมถึง ฯลฯ ความท้าทายที่สำคัญในการสื่อสารเคลื่อนที่คือการส่งมอบการสื่อสารของผู้ใช้จากพื้นที่หนึ่งไปอีกพื้นที่หนึ่ง ใน IEEE 802 การส่งมอบนี้เกี่ยวข้องกับความต่อเนื่องของ LAN ไร้สายบนผิวโลก

อุปกรณ์เครือข่าย

1.เซิร์ฟเวอร์ (Server)
   เซิร์ฟเวอร์ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหลักในระบบเครือข่าย (network) หนึ่ง ๆ ทำหน้าที่เป็นตัวคุมคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ที่มาเชื่อมต่อในเครือข่ายเดียวกัน คอมพิวเตอร์ เครื่องนี้มีหน้าที่จัดการดูแลว่า คอมพิวเตอร์เครื่องใดขอใช้อุปกรณ์อะไร โปรแกรมอะไร แฟ้มข้อมูลใด เพื่อจะได้จัดการส่งต่อไปให้ ในขณะเดียวกัน ก็จะเป็นที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมที่คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายจะมาเรียกไปใช้ได้

server มีกี่ประเภท


1.เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) คืออะไร

   Web server หัวใจสำคัญของทุกเว็บไซต์ที่จะต้องมี สำหรับเทคโนโลยีบนโลกไอทีที่ต้องออนไลน์ เว็บไซต์เป็นสิ่งจำเป็นในหลายหน่วยงาน หรือองค์กร เราสามารถถ่ายทอดข่าวสารผ่านเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลต่างๆ ความรู้ ความบันเทิง ประกาศ และการประชาสัมพันธ์ เบื้องหลังของเว็บไซต์ต่างๆเหล่านี้ต้องทำงานอยู่บนเว็บเซิฟเวอร์ เพื่อจะรัน Script ให้เราได้ดูและเข้าใจในสิ่งที่เว็บไซต์นั้นๆสื่อให้เราเห็น
ถ้าไม่มี Web Server แล้วสิ่งที่เห็นบนเว็บไซต์นั้นจะเป็นแค่โค๊ตทางภาษาคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถรู้ได้ว่าเป็นอะไร และไม่น่าสนใจด้วย ซึ่ง โค๊ต หรือ script เหล่านี้เมื่อทำงานอยู่เป็น web server แล้วเปิดใช้งานผ่าน browser จะรู้ได้ว่าเป็นอะไรWeb Server คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงทำหน้าที่เป็น Server ให้บริการ World Wide Web (WWW) หรือที่รู้จักกันว่า Homepage Web server คือ บริการ HTTP (Hyper Text Transfer Protocol) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูล ทั้งภาพ และเสียง จากเครื่องบริการ ผ่าน Browser เช่นบริการ http://www.9inter.com หรือ http://localhost เป็นต้นWeb Server เครื่องบริการ ที่รองรับคำร้องขอจาก Web Browser ข้อมูลที่จะส่งไปอาจเป็นเว็บเพ็จ text ภาพ หรือ เสียง เป็นต้นสำหรับโปรแกรมที่ได้รับความนิยม ให้นำมาเปิดบริการ Web คือ Apache Web Server หรือ Microsoft Web Server เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องบริการเว็บเพจแก่ผู้ร้องขอ ด้วยโปรแกรมประเภทเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) ที่ร้องขอข้อมูลผ่านโปรโตคอลเฮชทีทีพี (HTTP = Hyper Text Transfer Protocol) เครื่องบริการจะส่งข้อมูลให้ผู้ร้องขอในรูปของข้อความ ภาพ เสียง หรือสื่อผสม เครื่องบริการเว็บเพจมักเปิดบริการพอร์ท 80 (HTTP Port) ให้ผู้ร้องขอได้เชื่อมต่อและนำข้อมูลไปใช้ เช่น โปรแกรมอินเทอร์เน็ตเอ็กโพเลอร์ (Internet Explorer) หรือฟายฟร็อก (FireFox Web Browser) การเชื่อมต่อเริ่มด้วยการระบุที่อยู่เว็บเพจที่ร้องขอ (Web Address หรือ URL = Uniform Resource Locator) เช่น http://www.google.com หรือ http://www.9inter.com เป็นต้น โปรแกรมที่นิยมใช้เป็นเครื่องบริการเว็บ คือ อาปาเช่ (Apache Web Server) หรือไมโครซอฟท์ไอไอเอส (Microsoft IIS = Internet Information Server) ส่วนบริการที่นิยมติดตั้งเพิ่ม เพื่อเสริมความสามารถของเครื่องบริการ เช่น ตัวแปลภาษาสคริปต์ ระบบฐานข้อมูล ระบบจัดการผู้ใช้ และระบบจัดการเนื้อหา เป็นต้นWeb browser คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บ ในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษา HTML ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือ web server หรือ ระบบคลังข้อมูลอื่นๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนสื่อในการติดต่อกับเครือข่าย หรือ Network ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า world wide webหากเรามองย้อนกลับไปซักไม่กี่ปีที่ผ่านมาใครจะไปคาดคิดว่าเว็บมันจะเติบโตและได้รับความนิยม สูงมากขนาดนี้ ทุกวันนี้หลายๆ คนคงขาดเว็บไม่ได้ เหตุผลที่เว็บประสบผลสำเร็จก็คงเป็นเพราะเหตุผลเพียงไม่กี่อย่างคือ ความสะดวก และใช้งานง่าย ในฝั่งผู้ให้บริการ (ผ่านเว็บ) ก็จะมองว่าถ้ามีเว็บเซอร์เวอร์ ก็ขายสินค้าได้ทั่วโลก ในฝั่งผู้ใช้งาน ขอให้คุณเลื่อนเมาส์กับใช้ keyboard เป็น คุณก็ติดต่อ ค้นหา ซื้อของ ได้ทั่วโลก ในมุมมองของ Software เว็บก็ทำหน้าที่อยู่ 3 อย่างคือ GET POST และ ก็ PUT ในเรื่องของ Web Service ก็คือการใช้ Web ที่ไม่เพียงแค่เกี่ยวกับข้อมูลอย่างเดียว แต่หมายถึงการบริการด้วยคำว่า Service ไม่ได้หมายถึงอะไรที่เด่นชัดอย่าง Sanook.com Pantip.com แต่หมายถึงส่วนประกอบที่คนอื่นๆนำไปใช้ในการทำบริการที่กว้างกว่านี้ด้วย ตัวอย่างเช่น Microsoft Passport ที่ให้บริการตรวจสอบความเป็นตัวตนจริง (Authentication) ผ่านเว็บ ทำให้การบริการข่าวของ Bangkok Post ไม่ต้องตรวจสอบการเข้าสู่ระบบเอง แต่ยกให้ Passport เป็นตัวจัดการแทน หรืออย่าง Dynamic services whitepaper ของ Oracle ก็มีส่วนที่ให้บริการ แปลงค่าเงิน แปลภาษา การส่งของ กระบวนการเคลมสินค้า เป็นต้น ส่วนความหมายอย่างเป็นทางการของ Web Service ก็คงเป็นของ IBM ที่กล่าวว่าเว็บเซอวิส คือ Web Application ยุคใหม่ ที่ประกอบด้วยส่วนย่อยๆมีความสมบูรณ์ในตัวเอง สามารถติดตั้ง ค้นหา เริ่มทำงานได้ผ่านเว็บ Web Service สามารถทำอะไรก็ได้ตั้งแต่งานง่ายๆ เช่นดึงข้อมูล จนถึงกระบวนการทางธุรกิจที่ซับซ้อน เมื่อ Web Service ตัวใดตัวหนึ่งเริ่มทำงาน Web Service ตัวอื่นก็สามารถรับรู้และเริ่มทำงานได้อีกด้วยหลายคนอาจจะถามว่าทำไมต้องเป็น Web เพราะเรามี Middle Ware อื่นๆมากมายเช่น RMI Jini CORBA DCOM ฯลฯ แม้ Middle Ware เหล่านี้จะสามารถรองรับได้ แต่ไม่มีตัวใดตัวหนึ่งที่เด่นจริง แต่ในเมื่อ Web มีจุดเด่นในเรื่องของการให้บริการข้อมูลที่สะดวก ใช้งานง่าย จึงกลายเป็นตัวประสาน Middle Ware ต่างๆ เข้าด้วยกันซึ่งจะให้คุยกันเองคงยากยิ่ง Web ทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้ Middle Ware เหล่านี้สามารถคุยกันได้ และมีประสิทธิภาพกว่าวิธีการเดิมๆ มากหากเรามองจากกรณีของ n-tier application จะพบว่า web service คือกลไกในการเข้าถึงบริการที่แต่ละ Middle Ware ให้บริการ การเข้าถึงจะอาศัย Listener และส่วนประกอบที่ระบุถึงบริการต่างๆ ที่รองรับการทำงาน โดยการทำงานจริงๆ นั้นก็ใช้วิธีการปกติของ Middle Ware นั้นๆ

พื้นฐานของ Web Service
พื้นฐานของ Web Service ก็คือ XML กับ HTTP ซึ่งจะพบว่า HTTP ก็เป็นที่รู้จักกันดี และไปได้ทั่วทุกแห่งที่มี interner ส่วน XML คือภาษาสากลที่คุณสามารถปรับแต่งได้ตามใจชอบ เพื่อให้เกิดกิจกรรมระว่าง client และบริการ หรือระหว่างส่วนประกอบต่างๆ เบื้องหลัง Web server ก็คือ ข้อความ XML จะถูกแปลงให้การขอบริการจาก Middle ware และผลที่ได้ก็จะแปลงกลับมาในรูป XMLยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ คุณต้องการให้เครื่อง PC อ่านค่าจาก serial port แล้วส่งไปประมวลผลบนเครื่อง UNIX แล้วส่งผลกลับมาแสดงบนจอ PC ถ้าเป็นเมื่อก่อน คุณก็คงต้องแปลงข้อมูลที่ได้ให้อยู่ในรูปของ ASCII แล้วส่งไปยัง UNIX พร้อมคำสั่งว่าให้ทำอะไร ในฝั่ง UNIX คุณก็ต้องมาแยกว่าอันไหนคือคำสั่ง อันไหนคือข้อมูล เมื่อประมวลผลแล้ว จะส่งกลับมาในรูปแบบไหน แล้วถ้าหากจะส่งไปหาเครื่องที่เป็น MAC ท่านจะต้องเขียนโปรแกรมเพิ่มในส่วนไหนบ้าง จะพบว่าเราต้องพัฒนากันเป็นคู่ๆ ไป และต้องนิยามในแต่ละฝั่งให้ชัดเจน แต่หากเป็น Web Service คุณจะพบว่า เราแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูป XML แต่ละคุณก็ต้องการรู้แค่ มาตรฐาน XML ก็พอ แล้วต่างคนต่างก็เขียน Service ของตัวเอง ไม่ต้องกังวลเรื่องของการเชื่อมโยงอีกต่อไป และ Protocol ที่ส่งก็คือ HTTP นั่นเอง ถ้าท่านเชื่อมโยงกับ HTTP (หรือเว็บ) ได้ ท่านก็ใช้บริการทุกอย่างไดแต่เดี๋ยวก่อนการเข้าถึงและการสั่งงานนั้นยังเป็นเพียงโครงสร้างพื้นฐาน แต่ในความเป็นจริงยังมีอะไรมากกว่านั้น เช่น การค้นหา การทำธุรกรรม ความปลอดภัย การพิสูจน์ตัวตน และอื่นๆ อันเป็นบริการที่ทำให้เป็นบริการพื้นฐานจริงๆระบบเพิ่มเติมที่ต้องมีและต้องรักษาความสะดวกและใช้งานง่ายไว้ด้วย พื้นฐานของ Web Service เต็มรูปแบบคือ XML + HTTP + SOAP + WSDL + UDDI หรือในระดับสูงกว่านั้น แต่ไม่ได้ถือเป็นสิ่งจำเป็นเสมอไปคือต้องเพิ่มเทคโนโลยี XAML, XLANG, XKMS, XFS เป็นต้น

อ้างอิงจาก : https://jobperfect.wordpress.com

2. Mail Server

   ความหมายของ Mail Server คือ เครื่องบริการรับ-ส่งจดหมายสำหรับสมาชิก บริการที่มีให้ใช้เช่น รับ-ส่งจดหมาย ทั้งแบบที่เป็นข้อความและรูปภาพ โดยส่งในรูปแบบ Attach file และมีที่เก็บข้อมูลผู้ติดต่อ เรียกว่า Address book เป็นต้น 
ตัวอย่าง mail server ที่เป็นที่รู้จักทั่วไป เช่น hotmail.com หรือ thaimail.com เป็นต้น
   SMTP server คืออะไร Simple Mail Transfer Protocol Server คือ เครื่องบริการส่ง e-mail ไปยังเครื่องบริการอื่น ๆ สำหรับ SMTP ส่วนใหญ่จะไม่ยอมให้คนนอกองค์กร หรือ IP ที่อยู่นอกองค์กรใช้งาน SMTP เพราะอาจมีคนในโลกใบนี้มาแอบใช้ ทำให้บริการ SMTP ทำงานหนักให้กับคนภายนอกโดยไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ หากเครื่องของท่านบริการ SMTP แก่คนนอก แสดงว่าไม่ได้กำหนด RELAY ไว้ เพราะคนทั่วโลกอาจใช้เครื่องมือค้นหา "OPEN RELAY" แล้วพบว่าเครื่องของท่านเป็นเครื่องหนึ่งที่ไม่ได้ทำ RELAY ไว้ก็ได้ และที่อันตรายคือ อาจมีบางคนใช้โปรแกรม MOBI+ กำหนดให้เครื่อง SMTP ของท่าน Bomb mail ไปยัง mail box ของเป้าหมาย และหมายเลขเครื่องที่โจมตี ก็คือ เครื่อง SMTP ของท่านนั่นเอง 
   POP server คืออะไร Post Office Protocol Server คือ บริการ รับ-ส่งอีเมล์ จาก mail server กับเครื่องของสมาชิก บริการนี้ ทำให้สามารถอ่าน mail ด้วยมือถือ หรือ PDA แต่ถ้าท่านใช้ Mail ของ thaimail.com จะเป็น Web-Based mail ที่เปิดอ่าน E-mail ได้จาก Web เท่านั้น จะเปิดด้วย Outlook หรือ PDA ไม่ได้

อ้างอิงจาก : http://www.i-san.net/

3.File Server

   เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่มีหน้าที่จัดเก็บไฟล์ โดยการจัดเก็บไฟล์จะทำเสมือนเป็นฮาร์ดดิสก์รวมศูนย์ (Centerized disk storage) เสมือนว่าผู้ใช้งานทุกคนมีที่เก็บข้อมูลอยู่ที่เดียว เพราะควบคุม-บริหารง่าย การสำรองข้อมูล การ Restore ง่าย ข้อมูลดังกล่าวสามารถ Shared ให้กับ Client ได้ โดยส่วนมากข้อมูลที่อยู่ใน 
File Server คือ โปรแกรมและข้อมูล (Personal Data File) โดยปกติแล้วเซิร์ฟเวอร์ไม่มีหน้าที่ต้องประมวลข้อมูลเหล่านี้ เป็นเพียงแหล่งเก็บข้อมูล กล่าวง่ายๆ ก็คือ File Server ทำหน้าเสมือน Input/Output สำหรับไฟล์
การทำงานของเซิร์ฟเวอร์ที่เป็น File Server นั้น ในทางเทคนิคแล้วยังไม่เรียกว่าเป็น “Client/Server” เพราะไม่มีการแบ่งโหลดการทำงานระหว่างไคลเอ็นต์กับเซิร์ฟเวอร์ แต่หน้าที่ที่ File Server จะต้องจัดการคือ มี NOS (Network Operating System) ที่ดูแลเกี่ยวกับการ “เข้าถึง” ไฟล์ ต้องมีกระบวน “Lock” ไว้ ไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการแก้ไขไฟล์ เช่น ขณะที่ผู้ใช้งานคนที่ 1 เปิด ไฟล์ A และกำลังแก้ไข (edit) อยู่ ผู้ใช้งานคนที่สองจะเปิดไฟล์ A เพื่อแก้ไขไม่ได้ (แต่เปิดเพื่ออ่าน Read Only ได้) แต่ถ้าหากข้อมูลนั้นเป็น Database แทนที่ไฟล์หรือฐานข้อมูลทั้งฐานข้อมูลจะถูก Lock กระบวนการ Lock ก็อาจจะเกิดเฉพาะ Record (Row) นี้เป็นหน้าที่ของ NOS และ Application ที่ใช้งาน

อ้างอิงจาก : https://sites.google.com

4.Print Server

   หนึ่งเหตุผลที่ต้องมี Print Server ก็คือ เพื่อแบ่งให้พรินเตอร์ราคาแพงบางรุ่นที่ออกแบบมาสำหรับการทำงานมากๆ เช่น HP Laser 5000 พิมพ์ได้ 10 – 24 แผ่นต่อนาที พรินเตอร์ประเภทนี้ ความสามารถในการทำงานสูง ถ้าหากซื้อมาเพื่อใช้งานเพียงคนเดียว แต่ละวันพิมพ์ 50 แผ่น ก็ไม่คุ้มค่า ดังนั้นจึงต้องมีกระบวนการจัดการแบ่งปันพรินเตอร์ดังกล่าวให้กับผู้ใช้ทุกๆ คนในสำนักงาน หน้าที่ในการแบ่งปัน ก็ประกอบด้วย การจัดคิว ใครสั่งพิมพ์ก่อน การจัดการเรื่อง File Spooling เป็นของเซิร์ฟเวอร์ ที่มีชื่อว่า Print Server 
โดยส่วนใหญ่ในองค์กร น้อยองค์กรที่จะซื้อเซิร์ฟเวอร์มาเพื่อใช้สำหรับเป็น Print Server โดยเฉพาะ แต่จะใช้วิธีเอาเซิร์ฟเวอร์ที่ซื้อมาเพื่อเป็น File Server , Data Base server ทำเป็น Print Server ไปด้วย

อ้างอิงจาก : https://sites.google.com

2.ไคลเอนต์ (Client)

ไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server Network)
           ไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ (client/server) คือ การที่มีเครื่องผู้ให้บริการ (server) และเครื่องผู้ใช้บริการ (client) 
เชื่อมต่อกันอยู่ และเครื่องผู้ใช้บริการได้มีการติดต่อร้องขอบริการจากเครื่องผู้ให้บริการ เครื่องผู้ให้บริการก็จะจัดการ
ตามที่เครื่องผู้ขอใช้บริการร้องขอ แล้วส่งข้อมูลกลับไปให้เครือข่ายแบบ ไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์เหมาะกับระบบเครือข่าย
ที่ต้องการเชื่อมต่อกับเครื่องลูกข่ายจำนวนมาก โดยการรองรับจำนวนเครื่องลูกข่าย (Client) อาจเป็นหลักสิบหลักร้อย 
หรือหลักพัน เพราะฉะนั้นเครื่องที่จะนำมาทำหน้าที่ให้บริการจะต้องเป็นเครื่องที่มี ประสิทธิภาพสูง เนื่องจากถูกต้องออกแบบ
มาเพื่อทนทานต่อความผิดพลาด ( Fault Tolerance)และต้องคอยให้บริการทรัพยากร  การให้กับเครื่องลูกข่ายตลอดเวลา
โดยเครื่องที่จะนำมาทำเป็นเซิร์ฟเวอร์อาจเป็นคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์ หรือไมโครคอมพิวเตอร์ก็ได้
            เครือข่ายประเภทนี้จะมีเครื่องศูนย์บริการ ที่เรียกว่า เครื่องเซิร์ฟเวอร์ และมีเครื่องลูกข่ายต่าง ๆ เชื่อมต่อ โดยเครือข่าย
หนึ่งอาจมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์มากกว่าหนึ่งตัวเชื่อมต่อภายในวงแลนเดียวกัน ซึ่งเซิร์ฟเวอร์แต่ละตัวก็ทำหน้าที่รับผิดชอบที่แตกต่างกัน เช่น
             1.ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (File Server) คือ เครื่องที่ให้บริการแฟ้มข้อมูลให้แก่เครื่องลูกข่าย
             2.พรินต์เซิร์ฟเวอร์ (Print Server) คือ เครื่องที่บริการงานพิมพ์ให้แก่เครื่องลูกข่าย โดยบันทึกงานพิมพ์เก็บไว้
ในรูปแบบของสพูล (Spool) และดำเนินการพิมพ์งานตามลำดับคิว
             3.ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ (Database Server) คือ เครื่องที่บริการฐานข้อมูลให้แก่เครื่องลูกข่าย
             4.เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) คือ เครื่องที่จัดเก็บข้อมูลด้านเว็บเพจขององค์กร เพื่อให้ผู้ท่องอินเตอร์เน็ตสามารถ
เข้าถึงเว็บขององค์กรได้
             5.เมลเซิร์ฟเวอร์ (Maill Server) คือ เครื่องที่จัดเก็บข้อมูลด้านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail ที่มีการรับส่ง
ระหว่างกันภายในเครือข่าย

อ้างอิงจาก : https://sites.google.com

3.ฮับ (HUB) หรือเรียก รีพีทเตอร์ (Repeater)

   HUB คืออะไร ฮับ (Hub)  คือเป็นอุปกรณ์ศูนย์กลาง ที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆ เข้าด้วยกัน 
ฮับ (HUB) ในระบบเครือข่ายฮับเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงสัญญาณของอุปกรณ์เครือข่ายเข้าด้วยกัน การจะทำให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักกัน หรือส่งข้อมูลถึงกันได้จะต้องผ่านอุปกรณ์ตัวนี้ ปัจจุบันฮับถูกเปรียบเทียบกับ Switch ซึ่งมีความสามารถสูงกว่า และถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์มาตราฐานที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงสัญญาณในระบบเครือข่าย เรียกว่าฮับตกกระป๋องโดยทั่วไปจะมีลักษณเหมือนกล่องสีเหลี่ยมแต่แบน มีความสูงประมาณ 1-3 นิ้ว แล้วแต่รุ่น มีช่องเล็กๆ เอาไว้เสียบสายแลนแต่ละเส้นที่ลากโยงมาจากคอมพิวเตอร์ มีหลายรุ่น เช่น Hub 4 Ports, 8 Ports, 16 Ports, 24 Ports หรือ 48 Ports เป็นต้น หน้าตารูปร่างของฮับจะเหมือนกัน Switch ดังนั้นการเลือกซือต้องระวังให้ดี
ฮับ ทำงานอย่างไร
 เมื่อใดที่มีคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายต้องการส่งข้อมูล ฮับทำจะหน้าที่ในการทำสำเนาข้อมูลและส่งไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครือข่าย ไม่ใช่แค่คอมพิวเตอร์ แต่รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ ด้วยเช่น เครื่องพิมพ์ เป็นต้น เรียกว่าส่งข้อมูลไปทั้งหมด และถ้าข้อมูลนี้เป็นของอุปกรณ์ใด อุปกรณ์นั้นก็จะรับเองอัตโนมัติ และจุดด้อยของฮับที่ควรทราบคือ เวลามีอุปกรณ์ใดส่งข้อมูลในเครือข่ายผ่านฮับ อุปกรณ์อื่นๆ จะต้องรอให้การส่งสมบูรณ์ก่อน เปรียบเทียบได้กับถนน One-Way ห้ามส่งข้อมูลสวนทางกัน
                ความเร็วในการรับส่งข้อมูลของฮับ                                       
                    • ความเร็วต่ำสุดคือ 10 MBPS                                      
                    • ความเร็วสูงสุดคือ 100 MBPS
                    • บางรุ่นรองรับทั้ง 10 และ 100 เรียกว่า 10/100 MBPS
hub นั้นทำงานในระดับ layer 1 ซึ่งเป็น layer เกี่ยวข้องกับ เรื่องของการส่งสัญญาณออกไปสู่ media หรือ สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสาร รวมไปถึงเรื่องของการเข้ารหัสสัญญาณเพื่อที่จะส่งออกไปเป็นค่าต่างๆในทางไฟฟ้า และ เป็น layer ที่กำหนดถึง การเชื่อมต่อต่างๆที่เป็นไปในทาง physical hub นั้น จะทำงานในลักษณะของการทวนสัญญาณ หมายถึงว่า จะทำการทำซ้ำสัญญาณนั้นอีกครังซึ่งเป็นคนละอย่างกับการขยายสัญญาณนะครับ พอทำแล้วก็จะส่งออกไปยังเครือข่ายที่เชื่อมต่ออยูโดยจะมีหลักว่า จะส่งออกไปยังทุกๆ port ยกเว้น port ที่เป็นตัวส่งสัญญาณออกมาและเมื่อปลายทางแต่ละจุดรับข้อมูลไปแล้ว ก็จะต้องพิจารณา ข้อมูลที่ได้มา ว่าข้อมูลนั้นส่งมาถึงตัวเองหรือไม่ ถ้าหากไม่ใช่ข้อมูลที่จะส่งมาถึงตัวเอง ก็จะไม่รับข้อมูลที่ส่งมานั้นการทำงานในระดับนี้ ถ้าดูในส่วนของตัว hub เองนั้น จะเห็นได้ว่า ตัวของ hub นั้นเวลาส่งข้อมูลออกไป จะไม่มีการพิจารณาข้อมูลอย่างพวก mac address ของ layer 2หรือ ip addressซึ่งเป็นของ layer 3 เลย
switch (สวิตช์) 
   switch นั้นทำงานในระดับของ layer 2 ซึ่งเป็นการทำงานในระดับของ data-link layerในกรณีของ ethernet นั้น ก็จะมีความเกี่ยวพันกับเรื่องของ frame และพวก MAC , LLCswitch นั้น เป็นอุปกรณ์ที่มีหลักการในการทำงานในลักษณะเดียวกับ อุปกรณ์จำพวก bridgeซึ่งจะมีหลักการทำงานก็คือจะส่งข้อมูลจาก port อันนึง ไปยังปลายทางที่เฉพาะเจาะจงเท่านั้นข้อมูลนั้นจะไม่ถูกส่งออกไปยัง port อื่นๆ ยกเว้นมีความจำเป็นในบางกรณี เช่น ข้อมูลที่ส่งกันไม่มีผู้รับที่เชื่อมต่ออยู่ใน switch ของตัวเอง หรือ ข้อมูลที่ต้องส่งนั้น เป้นข้อมูลที่ต้องส่งออกไปในลักษณะของ broadcast หรือ multicast                        
การที่ port ใดๆ จะส่งข้อมูลถึงกันนั้น switch ก็จะทำการตรวจสอบ mac address ของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันอยู่ และมีการทำ table เอาไว้เพื่อเก็บข้อมูลเหล่านี้ และเมื่อเวลามีการส่งข้อมูลระหว่างกันก็จะเอา mac addres ปลายทาง ที่อยู่ในส่วน header ของ frame มาเทียบกับตารางที่ตัวเองมีอยู่ซึ่งถ้าหากว่า มีข้อมูล mac address อันนั้นอยู่ในตาราง และได้มีการบันทึกเอาไว้ว่าเป็นของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่กับ port ไหนswitch ก็จะทำการส่งข้อมูลไปยัง port นั้นทันที Hub กับ SWITCH แตกต่างกันอย่างไร
HUB กับ SWITCH นั้นจะทำหน้าที่คล้าย กัน
เพียงแต่ HUB นั้นเวลาส่งข้อมูลนั้ นจะเป็นแบบ broadcast กระจายไปทุกเครื่องแต ่ถ้าเป็น switch นั้น จะดูว่าข้อมูลนี่เป็น ของเครื่องไหนแล้วค่อยส่งไปยังเครื่องนั้น ดังนั้นHUB จึงสามารถ LAN ได้มากกว่า
นอกจากนี้ความเร็วในการส่งข้อมูลก็ต่างกันคือ speed HUB คือspeed / N เครื่องเช่น LAN 100 Mbps 10 เครื่อง ทุกเครื่องได้แค่ 10 Mpbs
ส่วน speed switch นั้น Lan 100 mpbs ทุกเครื่องได้ 100 mbps
ฮับที่นิยมใช้มี 2ประเภท  คือ
ที่นิยมใช้กันมี 2 ประเภทคือ
1.Small Hub มีจำนวนพอร์ต RJ-45 ประมาณ 4, 5, 8, 12 และ 16 พอร์ต แล้วแต่รุ่น เหมาะกับระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มากนัก ประมาณ 3-16 เครื่อง
 2.Rack mount Hub ขนาดความกว้าง 19 นิ้ว พอร์ต RJ-45 มีมากตั้งแต่ 12, 16, 24 ถึง 48 พอร์ต เหมาะสำหรับใช้งานในเครือข่ายขนาดใหญ่ ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 12 เครื่องขึ้นไป ฮับใหญ่บางรุ่นจะมี Fiber Module สำหรับเชื่อมโยงอุปกรณ์ผ่านใยแก้วนำแสง

อ้างอิงจาก : https://sites.google.com

4.เนทเวิร์ค สวิตช์ (Switch) 

Hub Switch หน้าที่หลักจะเหมือนกันคือ เชื่อมต่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่คนละที่
สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ พูดง่ายๆ ก็คือเป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ในระบบเครือข่าย
เข้าด้วยกัน
Hub จะทำงานที่ Layer 1 ทำหน้าที่ทวนซ้ำสัญญาณ เช่น ในระบบเครือข่ายมี PC 10 เครื่อง
เมื่อ PC1 ต้องการส่งข้อมูไปยัง PC5 ในขณะนั้น PC อื่นๆ จะไม่สามารถส่งข้อมูลได้
Switch จะทำงานที่ Layer 2 จะทำงานเหมือนกับ Hub แต่ ขณะที่ PC1 ส่งข้อมูลไปยัง PC5
PC อื่นๆ จะยังสามารถส่งข้อมูลได้พร้อมๆ กัน
Layer 3 switchคืออะไร
คืออุปกรณ์ในการทำ Routing (รับส่งข้อมูลระหว่างเน็ตเวิร์ก) เหมาะสมในการนำไปใช้ในระบบเน็ตเวิร์กที่มีการใช้งาน VLAN (VLAN เป็นการแบ่งพอร์ทต่างๆ ที่มีอยู่ในสวิทช์ ให้เป็นเสมือนแยกกันอยู่คนละเน็ตเวิร์ค) และต้องการให้อุปกรณ์ Computer ที่อยู่ในแต่ละ VLAN สามารถติดต่อกันได้
switch คืออะไร
ถ้าไม่เฉพา่ะเจาะจง Switch มันก็คืออะไรก็ได้ ที่ใช้สำหรับเปิดหรือปิด
แต่ถ้าในวงการคอมพิวเตอร์ก็คงจะหมายถึง Network Switch (เน็ตเวิร์ค สวิตซ์)
เน็ตเวิร์ คสวิตซ์ คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เครื่องข่าย สำหรับเชื่อมเครือข่ายแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน ลักษณะทางกายภาพของเน็ตเวิร์คสวิตซ์จะเหมือนกับเน็ตเวิร์คฮับ (Network Hub) ทุกประการ แตกต่างกันที่เน็ตเวิร์คสวิตซ์จะ "ฉลาด" กว่า
หลักการของ เน็ตเวิร์คฮับก็คือ เมื่อได้รับข้อมูลมาจากพอร์ท (ช่อง) ใดๆ ก็จะส่งข้อมูลนั้นไปยังทุกช่องที่มี ความฉลาดของเน็ตเวิร์คสวิตซ์ก็คือจะสามารถวิเคราะห์แพคเกจของข้อมูล (data package) และเลือกส่งไปเฉพาะช่องที่กำหนดไว้เท่านั้น การที่มันทำงานแบบนี้ก็ช่วยให้ประหยัดแบนวิดท์ (Bandwidth) ของเครื่องข่าย และให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าด้วย
ปัจจุบันแทบไม่มีเน็ตเวิร์คฮับให้ เห็นแล้ว ส่วนเน็ตเวิร์คสวิตซ์ก็มีราคาเริ่มต้นเพียงไม่กี่ร้อยบาทเท่านั้น ส่วนรุ่นสุดหรูที่โครตฉลาดก็มีราคาหลายแสนไปจนถึงเป็นล้านก็มี
Switch เป็นอุปกรณ์ศูนย์กลาง สำหรับเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หลายเครื่องเข้าด้วยกันด้วยอุปกรณ์ 3 อย่าง คือ สาย UTP(Unshieled Twisted Pair แบบ Category 5(CAT5)) หัว RJ45 สำหรับเข้าหัวท้ายของสาย และ Network adapter card โดยSwitch เป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้น โดยเลือกส่งข้อมูลถึงผู้รับเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ทำให้เครือข่ายที่ใช้ switch มีความเร็วสูงกว่าเครือข่ายที่ใช้ hub และมีความปลอดภัยสูงกว่า มีการพัฒนา switch ให้ทำงานใน Layer 3 ของ OSI ได้ ซึ่งมีความสามารถเป็น IP switching ทีเดียว

อ้างอิงจาก : http://thaicourt.blogspot.com/

5.เราต์เตอร์ (Router)

เราเตอร์ คืออะไรเราเตอร์ (Router) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายอย่างหนึ่ง ทำหน้าที่หาเส้นทางและส่งข้อมูลระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไปยังเครือข่ายปลายทางที่ต้องการ โดยหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุดและเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น แต่ถ้าเส้นทางหลักเกิดขัดข้อง Router สามารถที่จะเลือกเส้นทางใหม่ได้
advertisements
ซึ่งจากความหมายข้างต้น เราเตอร์จึงสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ได้มากกว่าหนึ่งเครื่องในเวลาเดียวกัน โดยตัว Router จะมีช่องสำหรับเสียบต่อสายสัญญาณเน็ตเวิร์คที่เรียกว่า LAN Port อยู่ด้วย โดยสามารถต่อ 1 Port ต่อหนึ่งเครื่อง หรือจะใช้เราเตอร์หรือ Hub อีกตัวมาต่อเพื่อเพิ่มจำนวนคอมพิวเตอร์ที่ต่อพ่วงอยู่ในระบบก็ได้ Router โดยทั่วไปมักมีจำนวนพอร์ตอย่างน้อย 4 พอร์ต ซึ่งที่พบเห็นได้มากที่สุดจะมีจำนวน 4, 8, 16 และ 32 พอร์ทเราเตอร์
ตัวอย่าง Internet Router ขนาด 4 Ports
เราเตอร์รุ่นใหม่ๆในปัจจุบันยังได้รวมเอาความสามารถของโมเด็มและสวิตซ์ชิ่งฮับไว้ในเครื่องเดียวกัน ทำให้เราสามารถใช้เราเตอร์นี้ในการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้เช่นเดียวกับฮับ (Hub) สามารถแจกหมายเลขไอพี (IP Address) ได้เช่นเดียวกับสวิตซ์ชิ่งฮับ และยังสามารถต่อเชื่อมกับระบบอินเตอร์เน็ตได้เหมือนกับโมเด็ม (Modem) ดังนั้นจึงหมายความว่าเราเตอร์เครื่องนี้สามารถแจกหมายเลขไอพีให้กับคอมพิวเตอร์ในระบบเน็ตเวิร์ค สามารถเป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูลกันของคอมพิวเตอร์ในแต่ละเครื่อง และยังเป็นแจกสัญญาณอินเตอร์เน็ตให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครอข่ายอีกด้วยRouter
การเชื่อมต่อระบบเน็ตเวิร์คและอินเตอร์เน็ตโดยใช้เราเตอร์
นอกจากนี้ Router ในปัจจุบันมีให้เลือกใช้ทั้งรุ่นแบบมีสาย (Wire) และแบบไร้สาย (Wireless) ซึ่งแบบ Wireless นี้จะสามารถส่งสัญญาณไวไฟ (Wi-fi) ออกมา เพื่อให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆที่สามารถรับสัญญาณ Wi-fi ได้ สามารถเชื่อมต่อเข้าระบบเครือข่ายได้ทันที และยังสามารถใช้ Wi-fi นี้ในการต่อเชื่อมอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วย

อ้างอิงจาก : http://www.comgeeks.net/

6.บริดจ์ (Bridge)

   บริดจ์ (Bridge)  เป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้แบ่งเครือข่ายออกเป็นเซกเมนต์ที่ไม่เกี่ยวข้องกันแต่ว่าถูกดูแลอยู่ภายใต้เครือข่ายเดียวกัน ซึ่งบริดจ์จำทำหน้าที่ในชั้น Data Link Layer โดยจะมองข้อมูลเป็นเฟรม ซึ่งจะแตกต่างจากฮับหรือรีพีตเตอร์ที่จะมองข้อมูลในระดับบิต นอกจากบริดจ์จะทำหน้าที่แบ่งเครือข่ายออกเป็น 2 เซกเมนแล้วยังทำหน้าที่กลั่นกรองข้อมูลให้อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน มันจะกันไม่ให้เฟรมข้อมูลนั้นไปรบกวนอีกเซกเมนหนึ่งหรือจะสามารถกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า บริดจ์ เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายของเครือข่ายที่แยกจากกัน แต่เดิมบริดจ์ได้รับการออกแบบมาให้ใช้กับเครือข่ายประเภทเดียวกัน เช่น ใช้เชื่อมโยงระหว่างอีเทอร์เน็ตกับ อีเทอร์เน็ต (Ethernet) บริดจ์มีใช้มานานแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 บริดจ์จึงเป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างสองเครือข่าย การติดต่อภายในเครือข่ายเดียวกันมีลักษณะการส่ง ข้อมูลแบบกระจาย (Broadcasting) ดังนั้น จึงกระจายได้เฉพาะเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น การรับส่งภายในเครือข่ายมีข้อกำหนดให้แพ็กเก็ตที่ส่งกระจายไปยังตัวรับได้ทุกตัว แต่ถ้ามีการส่งมาที่แอดเดรสต่างเครือข่าย บริดจ์จะนำข้อมูลเฉพาะแพ็กเก็ตนั้นส่งให้ บริดจ์จึงเป็นเสมือนตัวแบ่งแยกข้อมูล ระหว่างเครือข่ายให้มีการสื่อสารภายในเครือข่าย ของตน ไม่ปะปนไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง เพื่อลดปัญหาปริมาณข้อมูลกระจายในสายสื่อสารมากเกินไป ในระยะหลังมีผู้พัฒนาบริดจ์ให้เชื่อมโยงเครือข่ายต่างชนิดกันได้ เช่น อีเทอร์เน็ตกับโทเก็นริง เป็นต้น หากมีการเชื่อมต่อเครือข่ายมากกว่าสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน และเครือข่ายที่เชื่อมมีลักษณะหลากหลาย ซึ่งเป็นทั้งเครือข่ายแบบ LAN และ WAN อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเชื่อมโยงคือ เราเตอร์ (Router)
การทำงานของ Bridge
หลักการทำงานของ Bridge จะดูแลข้อมูลที่ส่งโดยพิจารณาหมายเลขของเครื่อง หรือตามศัพท์ทางเครือข่าย คือ Media Access Control (MAC Address หรือ Station Address) Bridge จะทำงานใน Data Link Layer หรือ Layer ที่ 2ของ OSI โมเดล คือ มองข้อมูลที่รับส่งกัน เป็น Packet แล้วเท่านั้น โดยไม่ต้องสนใจโปรโตคอลสื่อสารที่ใช้ ไม่ว่าจะเป็น IP หรือ IPX หรือโปรโตคอลใด ๆ หรือก็คือ ไม่ว่าจะเป็น Packet อะไรส่งออกมาในเครือข่าย Bridge จะดูเฉพาะ Address ปลายทางแล้วถ้าพบว่าเป็นเครื่องที่อยู่คนละฟากกันก็จะส่งต่อให้เท่านั้น ไม่สนใจว่าการส่งให้ถึงเครื่อง ที่เป็นผู้รับปลายทางนั้นอาจทำได้หลายเส้นทางต่าง ๆ กันข้อจำกัดอีกประการหนึ่งของ Bridge คือในขณะที่คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งต้องการส่งข้อมูลไปยังอีกเครื่องหนึ่ง แต่ไม่ทราบ Station Address จะมีการส่งข้อมูล พิเศษที่เรียกว่า Broadcast Frame เข้าไปในเครือข่าย เมื่อข้อมูลนั้นผ่านมาที่ Bridge ก็จะมีการส่งข้อมูลBroadcast นี้ต่อไปยังทุกเครือข่ายย่อยทั้งหมดที่ ตนอยู่ โดยไม่มีการเลือกหรือกลั่นกรองใด ๆ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายทั้งหมดถูกขัดจังหวะเพื่อรับข้อมูลดังกล่าว ดังนั้นถ้าข้อมูลที่ Broadcast มากก็จะ ทำให้เครือข่ายมีปัญหาเรื่องปริมาณข้อมูลหนาแน่น และความเร็วในการทำงานลดลงได้

อ้างอิงจาก : https://yyweb123.wordpress.com

7.เกตเวย์ (Gateway)

   เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยสามารถเชื่อมต่อ LAN หลายๆ เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลต่างกัน และใช้สื่อส่งข้อมูลต่างชนิดกันได้อย่างไม่มีขีดจำกัด ตัวอย่างเช่น เชื่อมต่อ Ethernet LAN ที่ใช้สายส่งแบบ UTP เข้ากับ Token Ring LAN ได้เกตเวย์เป็นเหมือนนักแปลภาษาที่ทำให้เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลต่างชนิดกันสามารถสื่อสารกันได้ หากโปรโตคอลที่ใช้รับส่งข้อมูลของเครือข่ายทั้งสองไม่เหมือนกันเกตเวย์ ก็จะทำหน้าที่แปลงโปรโตคอลให้ตรงกับปลายทางและเหมาะสมกับอุปกรณ์ของฮาร์ดแวร์ที่แต่ละเครือข่ายใช้งานอยู่นั้นได้ด้วย ดังนั้นอุปกรณ์เกตเวย์จึงมีราคาแพงและขั้นตอนในการติดตั้งจะซับซ้อนที่สุดในบรรดาอุปกรณ์เครือข่ายทั้งหมดในการที่เกตเวย์จะสามารถส่งข้อมูลจากเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่งได้อย่างถูกต้องนั้น ตัวของเกตเวย์เองจะต้องสร้างตารางการส่งข้อมูล หรือที่เรียกว่า routing table ขึ้นมาในตัวของมัน ซึ่งตารางนี้จะบอกว่าเซิร์ฟเวอร์ไหนอยู่เครือข่ายใด และอยู่ภายใต้เกตเวย์อะไร ตารางนี้จะมีการปรับปรุงข้อมูลทุกระยะ สำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นเกตเวย์อาจจะรวมเอาฟังก์ชันการทำงานที่เรียกว่า Firewall ไว้ในตัวด้วย ซึ่ง Firewall เป็นเหมือนกำแพงที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้คอมพิวเตอร์ที่อยู่นอกเครือข่ายของบริษัท เข้ามาเชื่อมต่อลักลอบนำข้อมูลภายในออกไปได้

อ้างอิงจาก : http://www.il.mahidol.ac.th/

โมเด็ม
โมเด็ม (Modem)
โมเด็ม เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นแอนะลอก และแปลงสัญญาณแอนะลอกกลับเป็นดิจิทัล มาจากคำว่า MOdelatory/DEModulator กระบวนการแปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นแอนะลอก เรียกว่า มอดูเลชัน (Modlation) และกระบวนการแปลงสัญญาณแอนะลอกกลับเป็นดิจิทัล เรียกว่า ดีมอดูเลชัน (Demodulation)
โดยวิธีการจะเป็นการแปลงรูปทรงของคลื่นเพื่อให้สามารถรับรู้สารสนเทศแบบดิจิทัลได้เท่านั้น เช่น กรรมวิธีการเปลี่ยนแปลงความถี่ของคลื่น (frequency) รอบคลื่นปกติในคาบเวลาที่กำหนดให้อาจใช้แทนบิต 0 หรือกรรมวิธีเปลี่ยนแปลงช่วงกว้างของคลื่น (amplitude) อาจใช้แทนบิต 1 นั่นคือ ความสูงของคลื่นปกติอาจมีนัยนะแทน 1 ในขณะที่คลื่นที่ต่ำกว่าใช้แทน 0 เนื่องเพราะว่า คุณสมบัติของคลื่นย่อมไม่อาจแปลงรูปทางเป็นลักษณะเปิด/ปิด เพื่อแทนสัญญาณดิจิทัลได้อย่างตรงๆ
ดังนั้น จะพบว่าโมเด็มจึงมีลักษณะผสมผสานเพราะว่ามันไม่สามารถส่งผ่านสัญญาณดิจิทัลโดยคงคุณสมบัติทั้งหมดไว้ได้โดยสมบูรณ์ ดังนั้งจึงได้มีการพัฒนาทางเลือกใหม่ๆ เช่น ISDN, ADSL เป็นต้น

ประเภทของโมเด็ม แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

  • โมเด็มภายนอก (External Modem) จะเป็นกล่องที่แยกออกมาต่างหากจากตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่นัก มักจะใช้สายเชื่อมต่อโมเด็มเข้ากับพอร์ตสื่อสาร ด้านหลังคอมพิวเตอร์ เช่น COM1,COM2,USB เป็นต้น ส่วนอีกสายหนึ่งจากโมเด็มจะเสียบเข้ากับแจ๊คโทรศัพท์ทั่วไป



  • ข้อดีของโมเด็มภายนอก ด้านความทนทาน, ความเสถียรภาพม สามารถโยกย้ายไปใช้กับคอมพิเตอร์เครื่องอื่นๆได้สะดวก สามารถตรวจสอบสถานะการทำงานของโมเด็มได้โดยตรง 
  • ข้อจำกัด ราคาแพงกว่าโมเด็มภายใน สิ้นเปลืองพื้นที่ใช้สอยบนโต๊ะ มักต้องการปลั๊กเสียบ AC


  • โมเด็มภายใน (Internal Modem) มีลักษณะเป็นการ์ดวงจรเสียบเข้ากับสล๊อตบนแผงหลัก(Motherboard) ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มักถูกติดตั้งโมเด็มมาด้วย หรืออาจรวมอยู่ในแผงวงจรหลัก

  • ข้อดีไม่สิ้นเปลืองพื้นที่บนโต๊ะ ราคาประหยัด ไม่จำเป็นต้องใช้สายไฟฟ้า power เพื่อเสียบเข้ากับปลั๊ก AC เพิ่มเติม

ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลของโมเด็ม
โมเด็มที่มีความเร็วสูงย่อมส่งผ่านข้อมูลเสร็จได้เร็วกว่าและเสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่าเมื่อใช้งานอินเทอร์เน็ตที่คิดค่าใช้จ่ายตามเวลาที่ใช้ไป ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลของโมเด็มจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรคำนึงถึงเสมอ
ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลของโมเด็มถูกใช้ด้วยอัตราความเร็วซึ่งมีหน่วยวัดเป็นบิตต่อวินาที เรียกว่า bps (bit per second) หรือ Kps เช่น 56Kps อัตราความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลของโมเด็ม อาจแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ช้า, เร็วปานกลาง และเร็วสูง
1. ช้า (Slow) มีอัตราความเร็วที่ประมาณ 1200, 2400 และ 4800 bps เอกสารแบบจดหมายจำนวน 10 หน้าสำหรับโมเด็มแบบ 2400bps สามารถส่งผ่านข้อมูลโดยใช้เวลาประมาณ 2.30 นาที จัดว่าช้าไม่ว่าจะใช้งานอะไรก็ตาม
2. เร็วปานกลาง (moderately fast) มีอัตราความเร็วที่ประมาณ 9600 และ 14,400 bps เอกสารขนาดเดียวกันเมื่อส่งผ่านโมเด็มแบบ 9600 bps จะใช้เวลาประมาณ 38 วินาที โดยทั่วไป เครื่องแฟกซ์จะรับ-ส่งข้อมูลที่ความเร็วนี้
3. เร็วสูง (high speed) มีอัตราความเร็วที่ 28,800 33,600 และ 56,000 bps เอกสารขนาดเดียวกันกับข้อ 1 เมื่อส่งผ่านด้วยโมเด็มแบบ 28.8 Kps จะใช้เวลาประมาณ 10 วินาที และใช้เวลา 5 วินาที สำหรับการใช้โมเด็ม 56 Kps
ISDN Modem (Integrated Service Digital Network Modem) เป็นการสื่อสารส่งข้อมูลแบบสัญญาณดิจิทัลผ่านสายโทรศัพท์ธรรดา

ISDN แบ่งเป็นสองช่องทางเพื่อให้สามารถใช้โทรศัพท์สนทนา เล่นอินเทอร์เน็ต หรือโอนถ่ายข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ด้วยอัตราความเร็ว 128 Kps เร็วกว่าโมเด็ม 28.8 Kps 4 เท่า และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูง การใช้บริการจำเป็นต้องจัดเตรียมทั้งฮาร์ดแวร์ที่เป็นกล่องสำหรับเชื่อมต่อ ISDN หรืออะแดปเตอร์การ์ด เพื่อจะต่อเข้ากับไมโครคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้น จะอยู่ภายในพื้นที่ให้บริการ ISDN ของหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น องค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสาร เป็นต้น

ADSL Modem (Asymmetric Digital Subscriber Line Modem) เป็นโมเด็มที่ส่งผ่านข้อมูลด้วยความเร็วที่อัตราพันบิตต่อวินาที สายเช่าแบบดิจิทัล DSL จะใช้สายโทรศัพท์ธรรมดาในการส่งผ่านข้อมูลในอัตราเร็วที่ล้านบิตต่อวินาที ที่ประมาณ 1.5-8 Mbps ในการใช้ ADSL จำเป็นต้องมีอะแดปเตอร์, โมเด็มชนิดพิเศษ, และหมายเลขโทรศัพท์โมเด็มแบบ ADSL และจะแบ่งสายโทรศัพท์ออกเป็น 3 ช่องทางสำหรับเสียง, ข้อมูลส่งออก และข้อมูลรับเข้า

PSTN
     PSTN ย่อมาจาก Public Switch Telephone Network หรือ เครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน หรือเรียกง่ายๆว่าเครือข่ายโทรศัพท์บ้าน (เช่น เครือข่ายของ TOT, TA, หรือ TT&T) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายต่างๆ ทั้งในพื้นที่เดียวกัน, ทางไกลต่างจังหวัด, ทางไกลต่างประเทศ, และเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำเป็นที่จะต้องเชื่อมต่อกับ PSTN เพื่อจะได้ติดต่อกับ โครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน และ เครือข่ายโทรศัพท์อื่นๆได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น